วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

16. กฎหมายและความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต

กฎหมายและความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต

                   กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยเริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 โดยคณะ กรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติเรียก (กทสช) ได้ทำการศึกษาและยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ ได้แก่     
1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)  เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์


  2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
                        เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
  3. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law)   เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้              
  4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
                           เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ               
5. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)
                           เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย  ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม              
  6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)
                          เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
มาตราการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
หน้า ๔เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. ๒๕๕๐ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
หน้า ๕ เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้นผู้ให้บริการ” หมายความว่า

(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตามพนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตาม
พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้หมวด ๑ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หน้า ๖เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ
และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด
หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐

(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน
สองแสนบาท

(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ
คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
หน้า ๗เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือ
มาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด
ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)
(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตาม
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิดความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
หน้า ๘เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐

(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือ
ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและ
ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มี
เหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด

(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ
นี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยัง
มิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่

(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
หน้า ๙เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการ
เข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียด
แห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้

15. การสนทนาออนไลน์

การสนทนาออนไลน์


                การสนทนาออนไลน์ หรือ Internet Relay Chat (IRC) หมายถึง โปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อการสนทนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการพิมพ์ข้อความผ่านคีย์บอร์ดขึ้นสู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งจะมีชื่อของผู้เล่นและข้อความแสดงขึ้นในหน้าต่างภายในจอคอมพิวเตอร์ของโปรแกรมสนทนา ให้คนอื่น ๆ ที่ร่วมสนทนาในห้องสนทนา (chat room) นั้น ๆ ได้เห็นว่า ผู้เล่นสนทนาคนอื่น ๆ สามารถเข้าสนทนาได้
บริการสนทนาออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต เป็นการสื่อสารผ่านข้อความ เสียง และรูปภาพจาก Webcam โดยมีการโต้ตอบกันอย่างทันทีทันใด (real-time) มีลักษณะเดียวกันกับการสนทนาโดยโทรศัพท์ ต่างกันตรงที่ผู้สนทนาจะสื่อสารผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในขณะเดียวกันก็สามารถส่งข้อความ ภาพ และเสียงให้กันโดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล 
              การสนทนาออนไลน์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าจะใช้งาน ข้อดีที่คือการได้รู้จักผู้คนมากขึ้น ได้แนวความคิดหลากหลาย มองโลกได้กว้างขึ้นโดยที่เป็นการลดช่องว่างด้านเวลา และสถานที่ ทำให้ได้รับรู้ประสบการณ์ของผู้อื่นพร้อมกับเผยแพร่ประสบการณ์ของตัวเองที่เป็นประโยชน์ เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์  ส่วนข้อเสียเป็นอาการติดสนทนาออนไลน์ไม่สนใจกิจกรรมอื่นนอกจากสนทนาออนไลน์ 
                 รูปแบบการสนทนาออนไลน์ ในปัจจุบันมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มสีสันการสนทนามากมาย ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความแตกต่าง ความน่าสนใจ ทำให้เข้ามาสนทนาพูดคุย สามารถแบ่งรูปแบบการสนทนาออนไลน์อย่างกว้าง ๆ ได้เป็น 3 รูปแบบด้วยกัน คือ Web Chat, Web Board และโปรแกรมสนทนาออนไลน์ Web Chat เป็นการสนทนาโดยผ่านเซิร์ฟเวอร์กลาง ซึ่งจะทำให้เกิดกลุ่มสนทนาแล้วทุกคนที่ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์นั้นสามารถได้รับข้อความนั้นได้พร้อม ๆ กัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าห้องสนทนา (chat room) เป็นการเข้าไปคุยกันในเว็บที่จัดให้บริการ เป็นการคุยตอบโต้ระหว่างกันผ่านเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้บราวเซอร์ปกติ รูปแบบ และบรรยากาศของห้องคุยก็จะขึ้นอยู่กับผู้สร้างสรรค์เว็บบริการนั้น ๆ ว่าให้ความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด ซึ่งแต่ละห้องจะมีคนพูดคุยพร้อม ๆ กันหลายคน
    รูปแบบการสนทนาออนไลน์ (Chat)
การสนทนาออนไลน์ผ่านเซิร์ฟเวอร์กลาง
                เป็นลักษณะการสนทนาแบบเป็นกลุ่ม โดยผู้สนทนาจะพิมพ์ข้อความที่ต้องการสื่อสารผ่านไปยังเซิร์ฟเวอร์ และเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความเหล่านั้นออกมาแสดงบนหน้าจอของทุกคนที่กำลังติดต่อกับกับเซิร์ฟเวอร์อยู่ซึ่งเราเรียกว่า ห้องสนทนา” (Chat Room)
                วิธีการสนทนาออนไลน์ผ่านทางเซิร์ฟเวอร์กลาง จะมีเทคนิคเพื่อให้เลือกใช้บริการดังนี้
                1. การสนทนาออนไลน์ผ่านโปรแกรม คือ ลักษณะการสนทนาด้วยข้อความในห้องสนทนาโดยใช้โปรแกรมของแต่ละเครื่องของผู้ใช้ มีเซิร์ฟเวอร์มากมาย เช่น PIRCH,mIRC และ Comic Chat
                2. การสนทนาออนไลน์ผ่านเว็บ (Web Chat) คือ รูปแบบของการนำวิธีการทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์มาทำให้เกิดห้องสนทนา บนเว็บเพจของผู้ที่เข้าไปใช้บริการ โดยไม่ต้องมีโปรแกรมรันอยู่บนเครื่องของผู้สนทนา ปัจจุบันการสนทนาออนไลน์ผ่านเว็บได้นำเทคโนโลยี จาวา” (Java) มาใช้เขียนโปรแกรม

ขั้นตอนการสนทนาแบบ Chat Room

1.พิมพ์ URL ที่ช่อง Address: htt://www.sanook.com
2.คลิกเลือกที่ คุยสด จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
Java Chat ซึ่งจะต้องติดตั้งโปรแกรม Java Applet ก่อน จึงจะสามารถสนทนารูปแบบนี้ได้Classic Chat เป็นรูปแบบดั้งเดิของการสนทนาออนไลน์โดยผ่ามเซิร์ฟเวอร์ สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆเพิ่มเติม
3.เมื่อเลือก Ciassic Chat จะมีรายชื่อของห้องสนทนาต่างๆภายในเซิร์ฟเวอร์แสดงออกมาให้ผู้ใช้ได้เลือกตามควมสนใจ เพื่อจะได้เข้าไปคุยกับเพื่อนๆภายในห้องสนทนาที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน
4.เมื่อเลือกห้องที่ต้องการสนทนาได้แล้ว จะปรากฎเว็บเพจในการแนะนำวิธีการ Log on เพื่อขอใช้บริการ พร้องทั้ให้พิมพ์ชื่อ และสีของข้อควมที่ต้องการใช้ระหว่างการสนทนจา เมื่อกำหนดเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ "เข้าห้อง"
5.เมื่อเข้าไปภายในห้องสนทนาแล้ว จะปรากฎชื่อของสมาชิกทั้งหมดภายในห้องสนทนานี้ และการสนทนาสามารถเลือกได้ว่าจะส่งข้อความถึงใคร หรือส่งถึงทุกคนภายในห้องก็ได้ แต่ขอความที่แสดงบนหน้าจอ ทุกคนที่อยู่ภายในห้องสนทนานั้นจะเห็นด้วยกันทั้งหมด

6.เมื่อเลิกผู้สนทนาที่เราต้องการส่งข้อความถึงแล้วนั้น เราก็ทำการพิมพ์ข้อความที่ต้องการจะส่งไป แล้วเลือกคลิกที่ Update ข้อความของเราจะไปปรากฎบนหฟน้าจดของทุกคนที่ใช้ห้องสนทนานี้
7.เมื่อต้องการออกจากหน้าสนทนา ให้คลิก Logoff
8.เพียงการทำงานตามขั้นตอนนี้ เราก็สามารถไปห้องสนทนายังห้องต่างๆได้โดยไม่ต้องทำการลงทะเบียนสมัครป็นสมาชิของเว็บไซต์ที่ให้บริการเหล่านั้น และเมื่อทำการ Logoff ออกจากห้องสนทนาห้องใดห้องหนึ่งแล้ว ก็สามารถที่จะเปลี่ยนไปสนทนายังห้องอื่นๆต่อไปได้อีก

การสนทนาออนไลน์โดยตรงระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

                การสนทนาออนไลน์รูปแบบนี้จะไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การรับส่งสารแบบทันทีทันใดหรือ Instant Messaging เช่นโปรแกรม ICQ,MSN Messenger, Yahoo Messenger, Windows Messenger เป็นต้น จะเป็นรูแบบของการสนทนาแบบตัวต่อตัว มิใช่ลักษณะการสนทนาในแบบห้องสนทนา

14. การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

การค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต


          1.  เว็บไซต์ (Website)  หมายถึง  ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหา
เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com  www.yahoo.com  www.sanook.com  เป็นต้น
                    1.1  การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก  จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก  (keyword)  ให้ได้ก่อน
                    1.2  การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น  โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
          2.  ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต  การค้นหาข้อมูลสะดวก  รวดเร็ว  โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง  หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ  ชื่อผู้แต่ง  เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  สำนักพิมพ์  ปีที่พิมพ์  เป็นต้น  ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน  เช่น  ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่  เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง  คือ  สุนทรภู่  และระบุหัวข้อเรื่อง  คือ  นิราศ  ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น

          3.  ฐานข้อมูลออนไลน์  ฐานข้อมูล  คือ  แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง  หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง  จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
          ออนไลน์ (online)  เป็นคำทับศัพท์  หมายถึง  การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ  อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย  ดังนี้
                    1.  ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ  คือ
                              "และ"                    ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  และ  "เรื่องสั้น"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล  เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น  จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
                              "หรือ"                    ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  หรือ  "ทมยันตี"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ  ว.วินิจฉัยกุล  และทมยันตี  ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
                              "ไม่"                       ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  ไม่  "ประวัติ"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ  ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน  จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล  เลย
                    2.  ใช้สัญลักษณ์  หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
                              เครื่องหมายคำถาม ?                    ใช้แทนอักษร 1 ตัว
                              เครื่องหมายดอกจัน*                    ใช้แทนอักษรหลายตัว

                              ตัวอย่าง  ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ  แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
                              ต้องการค้นเรื่อง  ปัญจวัคคีย์  แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์  ปัญจวัคคี*
                    3.  ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database)  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า  NEAR  สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย

13. การถ่ายโอนข้อมูลข้ามเครือข่าย

การถ่ายโอนข้อมูลข้ามเครือข่าย


                      การโอนย้ายข้อมูล หรือที่นิยมเรียกกันว่า FTP เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็น freeware sharewareจากแหล่ง ข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้Serverของตนทำหน้าที่เป็น FTP site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับให้บริการ FTP ที่นิยมใช้กันมากได้แก่WS_FTP, CuteFTP
              
                 การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ

                1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่อง
คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรี เช่น www.download.com

                2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้
ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้
ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander

  การโอนถ่ายข้อมูลหรือเอฟทีพี (File Transfer Protocol - FTP)     เป็นบริการหนึ่งของ         อินเทอร์เน็ตหมายถึง การดึงไฟล์จากคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา โดยที่เราสามารถคัดลอก ถ่ายโอนข้อมูล รูปภาพ เสียง วิดีโอและโปรแกรมต่าง ๆ จากอินเทอร์เน็ตได้
เอฟทีพีนี้เป็นวิธีการหลักในการส่งไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งมีคำที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ลักษณะคือ
                การดาวน์โหลด  (Download) หมายถึง การดึงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งซึ่งเป็นต้นทางมาเก็บไว้ยังเครื่องของเรา โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                การอัพโหลด  (Upload) หมายถึง การนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ไปเก็บไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่ปลายทาง โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกได้ว่าตรงกันข้ามกับดาวน์โหลด 




2.ประเภทของโปรแกรมที่ดาวล์โหลด
ประเภทของโปรแกรมที่ดาวน์โหลด
1.แชร์แวร์ ( Shareware )
    แชร์แวร์ ( Shareware ) คือ โปรแกรมรุ่นทดลองใช้ ซึ่งผู้ผลิตจะกำหนดระยะเวลาในการใช้

2.เดโมแวร์  ( Demoware )
   เดโมแวร์  ( Demoware ) คือ โปรแกรมรุ่นทดลองใช้ ซึ่งมีขอบเขตในการใช้งาน โปรแกรมเต็มรูปแบบอาจจะมี  5  เมนู  แต่เดโมแวร์ จะใช้ได้แค่ 2 เมนู

3.โปรแกรมรุ่นเบต้า  ( Beta Software ) 
   โปรแกรมรุ่นเบต้า  ( Beta Software )  จะเป็นโปรแกรมที่สร้างไม่สมบูรณ์แต่มักจะนำไปใช้ก่อน และเมื่อมีปัญหาก็ให้ผู้ใช้แจ้งกลับมายังผู้ผลิต เพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงต่อไป

โปรแกรมฟรี ( Freeware )
   คือ โปรแกรมที่ให้ฟรีและใช้งานได้เต็มรูปแบบเหมือนที่มีการซื้อขาย
ขั้นตอนของการดาวน์โหลด
            การดาวน์โหลดข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.การดาวน์โหลดประเภทข้อมูล  ผู้ขอใช้บริการสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจากโปรแกรมต่างๆ เช่น http://www.sanook.com/ , http://www.thaiware.com/ , http://www.hunsa.com/
 เป็นต้น ซึ่งไฟล์ข้อมูลจะประกอบด้วย ไฟล์โปรแกรม ไฟล์เกม และไฟล์ประเภทอื่นๆอีกมากมาย
2. การดาวน์โหลดประเภทรูปภาพ สามารถทำได้หลายกรณี เช่น บันทึกเป็นไฟล์รูปภาพ บันทึกเป็นภาพ Background บันทึกเป็นภาพ Desktop Item เป็นต้น
การจัดการข้อมูลด้วยโปรแกรม Winzip
            เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการขยายไฟล์ จะแบ่งการทำงานเป็น 2 แบบ คือ
1.      Wizard จะอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับขั้นตอนในการทำงาน โดยเพียงแต่ตอบคำถามทีละขั้นตอนที่โปรแกรมกำหนดเท่านั้น
2.      Classic แบบนี้ผู้ใช้โปรแกรมจะเป็นคนกำหนดทั้งหมดตามความต้องการ
การบีบอัดไฟล์ข้อมูลด้วย Winzip
1.      คลิกขวาที่ไฟล์ หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการทำการบีบอัดข้อมูล
2.      เลือกที่ Winzip --> Add to Zip file…
3.      คลิกที่ New
4.      เลือก Drive และโฟลเดอร์ที่ต้องการจัดเก็บข้อมูลที่ช่อง Save in : พร้อมทั้งตั้งชื่อไฟล์ Zip ที่ช่อง File name :
5.      แสดงสถานะในขณะทำงานของโปรแกรม Winzip
6.      แสดงรายละเอียดของไฟล์ข้อมูลทั้งหมดที่ทำการบีบอัดข้อมูล
7.      เมื่อกลับไปดูที่ Drive และโฟล์เดอร์ที่ได้กำหนดให้จัดเก็บไฟล์ข้อมูล จะปรากฏไฟล์ Zip ที่สร้างใหม่
การขอพื้นที่สร้างโฮมเพจ
            สามารถขอได้จากเว็บไซต์หลากหลายที่ให้บริการซึ่งเมื่อได้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์เพื่อสร้างโฮมเพจแล้ว จะได้รับพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล และเมื่อเราได้สร้างโฮมเพจของเราเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถที่จะทำการอัพโหลด (Upload) โฮมเพจไปไว้ยังเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทันที
การโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรแกรม WS-FTP
            โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เราสามารถอัพโหลดข้อมูลไปยังระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว




3.ขั้นตอนของการดาวล์โหลด
ก่อนที่คุณจะทำการอัปโหลดภาพที่หน้า อัปโหลดภาพ โปรดแน่ใจว่าได้อ่านและปฏิบัติตามนโยบายการใช้ภาพแล้ว จำไว้ว่า ภาพส่วนใหญ่บนอินเทอร์เน็ตมีลิขสิทธิ์และไม่ควรอัปโหลดเข้าสู่ระบบของวิกิพีเดีย; ดูนโยบายการใช้ภาพของวิกิพีเดีย หากคุณไม่ได้เป็นผู้สร้างไฟล์นี้เองหรือไม่สามารถระบุสถานะลิขสิทธิ์ของภาพได้ โปรดอย่าอัปโหลดภาพเข้าสู่ระบบ
ใช้แบบฟอร์มที่หน้า อัปโหลดภาพ เพื่ออัปโหลดไฟล์ภาพใหม่ ที่จะนำมาใช้ในหน้าของคุณ คุณจะเห็นปุ่ม "Browse..." ในเบราว์เซอร์ ซึ่งจะแสดงกรอบโต้ตอบมาตรฐาน สำหรับการเปิดไฟล์ของระบบปฏิบัติการของคุณ เมื่อเลือกไฟล์แล้ว ให้ใส่ชื่อไฟล์ โดยชื่อไฟล์ที่เป็นคำอธิบาย (เช่น "Cembridge, USA.jpg") เพื่อป้องกันการซ้ำกับไฟล์ที่มีเนื้อหาคนละอย่างกัน คุณจำเป็นต้องทำเครื่องหมายลงในกล่องทำเครื่องหมาย เพื่อยืนยันว่าคุณไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ใด ๆ จากการอัปโหลดไฟล์นี้ กดปุ่ม "อัปโหลด" เพื่อเริ่มการอัปโหลด หากคุณใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ การอัปโหลดอาจใช้เวลาสักครู่หนึ่ง
เมื่อต้องการดูหรือค้นหาภาพที่อัปโหลดไว้ก่อนหน้านี้ ให้ไปที่ รายการภาพที่อัปโหลดแล้ว การอัปโหลดและการลบภาพได้ถูกบันทึกลงใน ปูมการอัปโหลด
ไฟล์ที่เหมาะสมควรมีรูปแบบดังนี้ JPEG สำหรับภาพถ่าย, PNG สำหรับภาพเขียนและภาพวาด และ OGG สำหรับเสียง กรุณาตั้งชื่อไฟล์ที่สื่อความหมาย เพื่อป้องกันการสับสน เมื่อต้องการใส่รูปภาพ ให้ใช้ลิงก์ที่มีรูปแบบดังนี้ [[ไฟล์:file.jpg]] หรือ [[ไฟล์:file.png|คำอธิบาย]] หรือ [[ไฟล์:file.ogg]] สำหรับเสียง
โปรดทราบว่าผู้ใช้คนอื่นอาจแก้ไขไฟล์ที่คุณอัปโหลด หากพวกเขาคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อโครงการ หรือลบไฟล์ทิ้งและบล็อกไม่ให้คุณอัปโหลดไฟล์ได้ ในกรณีที่คุณอัปโหลดไฟล์ที่ไม่เหมาะสมเข้าสู่ระบบ 





4.การจัดการข้อมูลด้วยโปรแกรม Winzip
การจัดการข้อมูลด้วยโปรแกรม Winzip
        บางครั้งไฟล์หรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่เปิดให้ดาวน์โหลดทางอินเตอร์เน็ตนั้นมีขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กก่อน เพื่อที่จะทำให้การดาวน์โหลดทำได้รวดเร็วขึ้น เราสามารถสังเกตได้ว่าไฟล์ใดใช้วิธีบีบอัดข้อมูลมา โดยดูได้จากนามสกุลของไฟล์นั้น จะมีนามสกุล . zip เมื่อดาวน์โหลดข้อมูลมาแล้วต้องทำการขยายไฟล์ข้อมูลก่อนจึงจะสามารถอ่านข้อมูล หรือนำไปใช้งานได้ โปรแกรมที่ใช้ช่วยในการขยายไฟล์ คือ โปรแกรม Winzip
        โปรแกรม Winzip จะแบ่งการทำงานออกเป็น 2 แบบ คือ
1.             Winzip จะช่วยอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับขั้นตอนในการทำงาน โดยเพียงแต่ตอบคำถามทีละขั้นตอนตามที่โปรแกรมกำหนดเท่านั้น
2.             Classic แบบนี้ผู้ใช้โปรแกรมจะเป็นคนกำหนดทั้งหมดตามความต้องการใช้งาน




5.การขอพื้นที่สร้างโฮมเพจ
.1. ต้องใช้พื้นที่โฮมเพจเป็นที่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลของหน่วยงานที่เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปและหน่วยงานอื่นๆ ได้ทราบโดยทั่วถึงกัน
2. จะต้องไม่นำข้อมูลที่ไม่เหมาะสมใส่ไว้ในโฮมเพจ อาทิเช่น
ข้อความไม่สุภาพ
ต้องเป็นข้อมูลที่ไม่ขัดต่อพระาชบัญญัติลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา
ไม่นำเสนอภาพลามกอนาจาร
ไม่ลงโฆษณาหรือข้อมูลทางด้านการค้า
ไม่นำเสนอภาพที่ไม่เหมาะสม หรือขัดต่อศีลธรรมประเพณีอันดีงามของไทย
จะต้องไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น

3. หน้าแรกของโฮมเพจหน่วยงานให้ตั้งชื่อเป็น index.html
4. จะต้องไม่ล่วงละเมิด บุกรุกหรือรันโปรแกรมจนเป็นเหตุให้ระบบของเซิร์ฟเวอร์ได้รับความเสียหาย
5. สำนักบริการคอมพิวเตอร์สงวนสิทธิในการตรวจสอบข้อมูล/แฟ้มข้อมูลของบัญชีผู้ใช้ใดๆ เพื่อดูแลระบบและรักษาความปลอดภัยโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
6. สำนักบริการคอมพิวเตอร์ไม่รับประกันความเสียหายและสูญหายของข้อมูลโฮมเพจ ผู้ใช้ควรสำเนาข้อมูลโฮมเพจหรือมีต้นฉบับโฮมเพจแยกเก็บไว้เองด้วย
7. กฎระเบียบข้อบังคับอื่นๆ สามารถอ่านได้จาก
http://pirun.ku.ac.th./rule-penalty.html
http://www.ku.ac.th/NontriFAQ/index.html

12. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
E-Mail คืออะไร

……จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) คือ การส่งข้อความหรือข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นๆ ผ่านทางคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเหมือนกับการส่งจดหมาย แต่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณข้อมูลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยเปลี่ยนการนำส่งจดหมายจากบุรุษไปรษณีย์มาเป็นโปรแกรม และเปลี่ยนจากการใช้เส้นทางจราจรคมนาคมทั่วไปมาเป็นช่องสัญญาณรูปแบบต่างๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะตรงเข้ามาสู่ Mail Box ที่ถูกจัดสรรใน Server ของผู้รับปลายทางทันที
เราใช้ E-Mail ทำอะไรกัน

……ปัจจุบันนี้ด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทำให้ระบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลถึงกันสามารถทำได้อย่างง่ายดาย อินเตอร์เน็ตนับเป็นระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เพราะมีผู้ใช้งานมากกว่า 25 ล้านคน ติดต่อเข้าใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อส่ง E-Mail
……E-Mail นับเป็นทางเลือกใหม่ของการติดต่อสื่อสาร ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีระบบเครือข่าย ทำให้การส่งหรือรับ E-Mail ไม่ว่าผู้ส่งและผู้รับจะอยู่ที่ใด เป็นไปได้ในช่วงเวลาที่สั้นและรวดเร็ว สามารถส่งหรือรับข้อมูลได้ทันที และตลอดเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะสัมพันธ์กับค่าโทรศัพท์ที่ใช้ และค่าธรรมเนียมในการขอใช้บริการจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
……เราใช้ E-Mail เพื่อส่งข้อมูลที่สามารถจัดเก็บในรูปแบบของแฟ้มข้อมูล (File) คอมพิวเตอร์ได้ทุกประเภท ไม่ว่านั่นจะเป็นเพียงข้อความจดหมายเพื่อพูดคุยธรรมดาหรือเป็นแฟ้มข้อมูลรูปภาพ รวมทั้งยังสามารถแนบแฟ้มข้อมูลเอกสาร หรือข้อมูลต่างๆได้อีกด้วย
ในเชิงธุรกิจ E-Mail จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ยังสามารถส่งจดหมายฉบับเดียวกันถึงผู้รับปลายทางได้เป็นจำนวนมาก ทำให้มีการนำ E-Mail มาใช้เพื่อการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการได้อีกด้วย

มาทำความรู้จักและเรียนรู้วิธีใช้งาน E-Mail กัน
……ในการใช้งาน E-Mail จำเป็นจะต้องมี E-Mail Address เสียก่อน โดย E-Mail Address จะเป็นเหมือนที่อยู่ทางอินเตอร์เน็ตของแต่ละคน มักจะแทนด้วยชื่อหรือรหัสที่ใช้แทนตัว แล้วตามด้วยชื่อของ Mail Server ที่ให้บริการ เช่น somchai@isp.co.th โดยทั่วไป E-Mail Address จะประกอบด้วย
- User ID ใช้เป็นชื่อหรือรหัสประจำตัวของผู้ใช้บริการแต่ละคน
- เครื่องหมาย @
- Domain Name ของ Mail Server ที่ใช้บริการ
เมื่อต้องการส่ง E-Mail มีส่วนประกอบสำคัญที่ต้องให้รายละเอียด คือ
1. To: ระบุ E-Mail Address ของผู้รับปลายทาง
2. Subject: ใส่หัวเรื่องย่อๆของเนื้อหา
3. CC (Carbon Copy): เป็นการระบุ E-Mail Address ของผู้ที่เราต้องการให้ได้รับสำเนาของจดหมายฉบับนี้ด้วย
4. BCC (Blind Carbon Copy): เช่นเดียวกับ CC แต่ทำให้ผู้รับไม่ทราบว่าเราต้องการ ส่งใคร
5. Attachment: เราสามารถแนบไฟล์ไปกับการส่ง E-Mail ด้วยก็ได้
6. Body: เป็นเนื้อหาข้อความของจดหมาย


11. เครือข่ายใยแมงมุม

เครือข่ายใยแมงมุม



                     เครือข่ายใยแมงมุม (World wide Web หรือ W3 หรือ WWW) เรียกสั้น ๆ ว่า เว็บ (Web) เป็นรูปแบบหนึ่งของระบบ การเชื่อมโยงเครือข่ายข่าวสาร ใช้ในการค้นหาข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต มีการเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปยังอีกแหล่งข้อมูลที่อยู่ห่างไกล เพื่อให้มีความง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด
WWW จะแสดงผล ในรูปแบบของเอกสารที่ เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext ) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่รวบรวมข่าวสาร ข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจาย ไปในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ให้สามารถนำมาใช้งานได้ เสมือนอยู่ในที่เดียวกัน คล้ายกับเส้นใยแมงมุม ที่ถักทอเส้นสาย เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลกันไปมา
การให้บริการของอินเทอร์เน็ต แบบ WWW เป็นระบบงาน ที่ทรงพลังมากในยุคปัจจุบัน ทำให้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกอย่างแท้จริง เนื่องจากสามารถให้บริการข้อมูลได้ทั้งในแบบข้อความเสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ทำให้ข้อมูลที่นำมาแสดง มีความน่าสนใจขึ้น การค้นหาข้อมูลแบบ WWW จะมีการเชื่อมโยงข้อมูล ตามเส้นทาง ที่กำหนดไว้ เรียกว่า LINKS
การเข้าไปใช้งานใน อินเทอร์เน็ตแบบ WWW ทำให้เรามีความรู้สึก เสมือนได้เดินทางท่องเที่ยว ไปยังที่ต่าง ๆ เราเรียกดินแดนที่มองผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์เข้าไป ว่า "ไซเบอร์สเปซ" (Cyberspace)


10. การใช้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์

การใช้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์

โปรแกรมบราวเซอร์ (Browser) 

     เว็บบราวเซอร์ (web browser) หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่    ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเชทีเอ็มแล (HTML)ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับ              เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ในระยะเริ่มต้นนั้นโปรแกรมบราวเซอร์ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ดูเอกสารของ         เครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บเป็นหลัก จึงทำให้ผู้ใช้จำนวนมากเข้าใจว่าโปรแกรมบราวเซอร์กับโปรแกรมเรียกใช้บริการของเว็บเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ในปัจจุบันโปรแกรมบราวเซอร์ได้ขยายขีดความสามารถมากขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถใช้เรียกบริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตได้แทบทุกชนิด โดยการระบุชื่อโพรโตคอลของบริการต่าง ๆ นำหน้าตำแหน่งที่อยู่ (address หรือชื่อ        โดเมนของเครื่องบวกกับชื่อไฟล์บริการของบริการ) ที่ต้องการ เช่น


http://www.netscape.com
http://www.cnn.com/welcome.htm
gopher://gopher.tc.umn.edu
ftp://ftp.nectec.or.th/pub/pc
file://C:/WINDOWS/Modem.txt
โพรโตคอล http ที่อยู่คือเครื่อง www.netscape.com
โพรโตคอลhttp ที่อยู่คือเครื่อง www.cnn.com แฟ้ม welcome.htm
โพรโตคอลgopher ที่อยู่คือเครื่อง gopher.tc.cum.edu
โพรโตคอล ftp ที่อยู่คือเครื่อง ftp.nectec.or.th และราก /pub/pc
โพรโตคอลfile ที่อยู่คือฮาร์ดดิสก์ c:\WINDOWS แฟ้ม Modem.txt

เครื่องหมาย :// จะเป็นชนิดของโพรโตคอล และข้อความด้านหลังจะเป็นที่อยู่ของบริการนั้น ๆ (หากไม่ได้ระบุชื่อแฟ้มไว้ด้านหลังชื่อเครื่องโดยใช้ / คั่น จะเป็นการใช้ชื่อแฟ้มเริ่มต้นโดยปริยาย (default) ของเครื่องนั้น) การระบุโพรโตคอลพร้อมที่อยู่เช่นนี้เรียกว่า URL (Uniform Resource Locator) ซึ่งความหมายก็คือการใช้รูปแบบเดียวในการหาทรัพยากรต่าง ๆ นั้นเอง นอกจากนี้ ในตัวอย่างสุดท้ายจะเห็นได้ว่าโปรแกรมบราวเซอร์สามารถใช้ในการเปิดแฟ้มที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ของผู้ใช้ได้เสมือนกับเป็นบริการหนึ่งในอินเทอร์เน็ต นั่นคือโปรแกรมบราวเซอร์มีแนวโน้มที่ชัดเจนว่ากำลังพยายามทำตัวเป็นเปลือก (shell)ที่ครอบอยู่เหนือระบบปฏิบัติการอีกชั้นหนึ่ง อันจะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานบริการต่าง ๆ ได้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท โดยไม่ต้องกังวลถึงความแตกต่างของฮาร์ดแวร์หรือระบบปฏิบัติการอีกต่อไป
โปรแกรมบราวเซอร์ระยะแรก ๆ จะเป็นข้อความ (text) ทำให้ไม่ได้รับความนิยม    แต่เมื่อห้องปฏิบัติการ CERN ออกโปรแกรม MOSAIC ซึ่งเป็นบราวเซอร์ที่ใช้ ระบบการติดต่อ   ผู้ใช้แบบกราฟฟิก (GUI) ตัวแรก ก็ทำให้โปรแกรมบราวเซอร์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากระบบการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานบริการต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายด้วยการชี้แล้วเลือก (point and click) โดยแทบจะไม่ต้องใช้แป้นพิมพ์เลย รวมทั้งบราวเซอร์กราฟฟิกยังทำให้สามารถสร้างเวบเพจที่มีสีสันและรูปภาพสวยงาม อันเป็น การดึงดูดใจให้มีผู้นิยมใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน MOSAIC ไม่ได้มีการพัฒนาต่อแล้ว เนื่องจากห้องปฏิบัติการ CERN   ไม่ได้เป็นหน่วยงานที่หวังผลกำไร     การพัฒนาเป็นการพัฒนา  MOSAIC   เพื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเท่านั้น บราวเซอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันก็คือบราวเซอร์ที่เป็นแชร์แวร์ จาก Netscape คือโปรแกรม Netscape Communicator ส่วนอันดับ 2 คือ บราวเซอร์ฟรีแวร์จาก Microsoft คือโปรแกรม Internet Explorer (IE) ซึ่งบราวเซอร์จากทั้ง 2 บริษัทได้มีการขยายขีดความสามารถใหม่ ๆ มากมาย เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การใช้งานกลุ่มข่าว (newsgroup)
การประชุมทางไกล (video conference) การสร้างเว็บเพจ (web authoring) ตลอดจนการดูภาพแบบสามมิติ (VRML) เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายขีดความสามารถในการแทนที่ระบบปฏิบัติการ และการเพิ่มเทคโนโลยีการผลัก (push) ข้อมูล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะไม่รอให้ผู้ใช้เป็นฝ่ายเรียกเข้าอินเทอร์เน็ตเพื่อดึง (pull) ข้อมูล แต่จะส่ง (push) ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ (เช่น ข่าวต่าง ๆ) มายังเครื่องผู้ใช้
รายชื่อโปรแกรมบราวเซอร์ที่เป็นที่นิยม
1.             อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Internet Explorer) โดยบริษัทไมโครซอฟต์
2.             มอสซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) โดยมูลนิธิมอสซิลลา
3.             เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator) โดยบริษัทเน็ตสเคป
4.             ซาฟารี (Safari) โดยบริษัทแอปเปิล  คอมพิวเตอร์
5.             โอเปร่า (Opera) โดยบริษัทโอเปร่า ประเทศนอร์เวย์
6.             คามิโน
7.             แมกซ์ทอน

9. การท่องโลกอินเทอร์เน็ต

การท่องโลกอินเทอร์เน็ต


                 อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูลมากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
ท่องโลกอินเตอร์เน็ตอย่างมืออาชีพ
Surf Net การท่องไปในโลกอินเตอร์เน็ตด้วยโปรแกรม Web Browser (ที่คุณกำลังเล่นอยู่ในขณะนี้) ปัจจุบันถือว่าโปรแกรมที่นิยมมากที่สุดในโลกคงหนีไม่ พ้น Microsoft Internet Explorer (IE) , Netscape และ Opera นอกเหนือจากนี้ก็มีผู้ใช้บ้างเล็กน้อย ส่วนเรื่องการใช้งานก็ไม่แตกต่างกันมากเท่าไหร่ ถ้าท่านเป็นมือใหม่ หรือต้องการท่องโลก internet อย่างมืออาชีพ ลองมาเรียนรู้จากที่นี่ได้เลยครับ (แนะนำการใช้ Internet Explorer v.5 ขึ้นไป เป็นหลัก) พร้อมแล้ว
การใช้งานพื้นฐานทั่ว ๆ ไป
เริ่มไปเวปไซท์แรกสิ่งที่ควรทราบเป็นอันดับแรก ช่อง Address เป็นช่องสำหรับใส่ที่อยู่ของเว็ป (URL) ที่อยู่เว็ปส่วนใหญ่ประกอบส่วนต่าง ๆ ดังนี้ เริ่มต้นด้วย http:// ตามด้วยชื่อเวป ระวังเครื่องตัวอักษรตัวเล็กใหญ่ และเครื่องหมายอื่น ๆ ด้วย (ปัจจุบันโปรแกรมเวอร์ชั่นใหม่ ๆ เราไม่จำเป็นต้องใส่คำว่า http:// แล้ว โปรแกรมจะใส่ให้อัตโนมัติ) เปิดปุ๊ป เจอปั๊ป (Home Page)คุณสามารถกำหนดให้เว็ปที่คุณถูกใจมากที่สุดเป็นเว็ปที่เปิดโปรแกรม browser ก็เข้าไปที่เว็ปนี้ โดยคลิกเมนู Tools เลือก Internet options คลิก Use current (กรณีที่คุณกำลัง surf เว็ปที่คุณชอบอยู่) ลิงค์ไปหน้าต่อไป (Link)ปกติแล้วถ้าท่านเลื่อนเม้าไปบริเวณต่างๆ ในเวป เช่นในส่วนรูปภาพ หรือข้อความอื่น ๆ แล้ว ไอคอนของเม้าส์เปลี่ยนเป็น รูปมือ แสดงว่าสามารถกด และลิงค์ไปยังหน้าอื่น ๆ ได้ ดูหน้าเว็ปแบบ update (Refresh) การดูเว็ปบางครั้งอาจเกิดปัญหาระหว่างการ load ภาพและข้อมูล หรือเป็นเพราะคุณเคยเข้าไปเว็ปนั้นแล้ว การดูในครั้งต่อไปโปรแกรม browser อาจโหลดจาก temp file ที่อยู่ในเครื่องของท่าน ดังนั้นเพื่อการดูเว็ปแบบ update ท่านควรกดปุ่ม Refresh หรือคลิกขวาเลือก Refresh (กดปุ่ม F5) แค่นี้ท่านก็จะได้ดูข้อมูลแบบ update ตลอดเวลา เก็บที่อยู่เว็ปนี้ไว้ดูครั้งต่อไป (Add to Favorites) หลังจากที่คุณไปเว็ปไหนแล้วเกิดถูกใจ คุณสามารถเก็บที่อยู่ของเว็ปนั้น เพื่อสะดวกในการในการเข้าไปดูในครั้งต่อไป เพียงคลิกเมนู Favorites เลือก Add to Favorites หรือจะ คลิกขวาเลือก Add to Favorites ก็ได้ (ถ้าเป็น Netscape จะเรียกว่า Bookmarks) ส่วนการเลือกใช้ให้เข้าไปเมนู Favorites และเลือกเว็ป ที่อยู่ภายใต้เมนูนี้
เดินหน้า ถอยหลัง (Forward & Back) หลังจากที่คุณมีการกดลิงค์ไปยังหน้าอื่นๆ แล้ว ถ้าต้องการถอยกลับมา ท่านสามารถกดปุ่มที่มีคำว่า Back (ถอยหลัง) หรือกด Forward (เพื่อกลับไปยังหน้าที่เรามีการถอยหลังก่อนหน้านี้ได ้) หรือกด คลิกขวาของเม้าส์ แล้วเลือกคำสั่ง Back & Forward ได้ด้วยเช่นกัน download รูปภาพ รูปภาพที่คุณเห็นในเว็ป สามารถแบ่งออกได้หลายอย่างเช่น ภาพทั่วไป ภาพเคลื่อนไหว ภาพฉากหลัง (background) ปกติเราสามารถนำภาพที่เราเห็นบนเว็ปเก็บไว้ดูได้ง่าย ๆ เพียงวางเม้าส์บริเวณรูปภาพ คลิกขวาของเม้าส์เลือก Save Picture As (ภาพฉากหลังจะไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้) download เว็ปทั้งหน้า เวปหน้าไหนที่ท่านต้องการเก็บไว้ดูแบบ offline (ไม่ต้อง online ตลอดเวลา เพื่อประหยัดเงิน) ท่านก็สามารถ Save เก็บไว้ได้ด้วย โดยการคลิกคำสั่ง File เลือก Save As (บางเว็ปอาจไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้) มือใหม่ในการเล่นเวป ปัญหาของการเล่นเว็ปอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่ทราบที่อยู่ (URL) ของเว็ปนั้น ๆ แล้วจะเข้าไปได้อย่างไร ไม่อยากครับ เพียงท่านใช้ Search Engine ใช้ในการค้นหา เพียงแค่พิมพ์คำที่ต้องการ เช่น ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ สุนัข

ให้พิมพ์คำว่า dog เป็นต้น